แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้ |
|
การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่สุด บทบาทของครู คือ ผู้อำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และบรรลุตามมาตรฐานของหลักสูตร บทบาทของนักเรียนเป็นผู้แสวงหา และเรียนรู้ด้วยการคิด การปฏิบัติอย่างแท้จริงให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง สื่อการสอน จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการสร้างสถานการณ์การเรียนรู้การพัฒนาศักยภาพในการคิดเพิ่มพูนทักษะประสบการณ์การเรียนรู้และเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมแก่ผู้เรียน ความหมายของสื่อการสอน ความหมายของสื่อการสอนวิทยาศาสตร์
|
|
หลักการเลือกสื่อการสอนวิทยาศาสตร์ |
|
|
กระทรวงศึกษาธิการ(2545,หน้า 8-9) ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นคนหรือสัตว์ สิ่งของ สถานที่ เหตุการณ์ หรือความคิดก็ตามถือเป็นสื่อการสอนได้ทั้งสิ้น ขึ้นอยู่กับว่าเราเรียนรู้จากสิ่งนั้นๆหรือนำสิ่งเหล่านั้นเข้ามาสู่การเรียนรู้ของเราหรือไม่ สื่อทั้งมวลอาจแยกเป็นประเภทใหญ่ๆได้ดังนี้
2. สื่อเทคโนโลยี หมายถึง สื่อการสอนที่ได้ผลิตขึ้นเพื่อใช้ควบคู่กับเครื่องมือ โสตทัศนวัสดุ หรือเครื่องมือที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ๆ สื่อการเรียนรู้ดังกล่าว เช่น แถบบันทึกภาพพร้อมเสียง แถบบันทึกเสียง สไลด์ สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน นอกจากนี้สื่อเทคโนโลยี ยังหมายรวมถึงกระบวนการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน เช่น การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอน การศึกษาผ่านดาวเทียม 3. สื่ออื่นๆ นอกจากสิ่งพิมพ์และสื่อเทคโนโลยีแล้ว ยังมีสื่ออื่นๆที่ส่งเสริมการเรียนการสอนซึ่งมีความสำคัญไม่ยิ่งไปกว่าสื่อ 2 ประเภทดังกล่าว เพราะสามารถอำนวยประโยชน์แก่ท้องถิ่นที่ขาดแคลนสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อเทคโนโลยี สื่อเหล่านี้อาจแบ่งได้เป็น 4 ประเภทดังนี้ สื่อต่างๆในสถานศึกษาจัดทำหรือจัดหามาใช้เพื่อการเรียนรู้ผู้เรียนต้องเชื่อมั่นได้ว่าให้สาระการเรียนรู้ที่ถูกต้อง มีความหมาย และเกี่ยวพันกับการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์และมีคุณค่า ห้องสมุดหรือศูนย์สื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่สำคัญมากที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทั้งด้วยตนเองอย่างมีอิสระและอย่างร่วมมือกันและกันระหว่างเพื่อนสถานศึกษาจึงต้องพัฒนาห้องสมุดให้ทำหน้าที่อย่างเต็มที่ ยิ่งกว่านั้นโลกรอบตัวผู้เรียนสามารถเข้าถึงได้ด้วยเทคโนโลยี ก็เป็นเครือข่ายการเรียนรู้ที่ไม่มีขีดจำกัดอีกทั้งยังเพิ่มพูนจนยากจะจำได้ทั่วถึง ผู้เรียนจึงต้องได้รับการชี้แนะและฝึกให้รู้จักคิดแสวงหาแหล่งข้อมูลและวิธีการค้นคว้าจากแหล่งความรู้ต่างๆด้วยตนเองอย่างอิสระ ตลอดจนได้ฝึกให้สามารถคิด วิเคราะห์ เพื่อเลือกสรรข้อมูลมาใช้ประโยชน์
อ้างอิงจาก กระทรวงศึกษาธิการ.(2544).คู่มือพัฒนาสื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การ
|